เมนู

ว่าด้วยกาม 2 อย่าง



[34] คำว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละ
ได้โดยง่าย
มีความว่า คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม 2 อย่าง
คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1.
วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็น
ที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร
ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี
แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็น
อดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็น
ภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิด
ประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่
ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน
ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด
ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า
อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านั้น เรียกว่า วัตถุกาม.
กิเลสกามเป็นไฉน ? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความ
ดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความ
ใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ ความใคร่ในกาม

ทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม
ความหลงไหลในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ
ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม.
สมจริงดังคำว่า :-
ดูก่อนกาม เราได้เห็นรากฐานของเจ้าแล้วเจ้าเกิด
เพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้า เจ้าจักไม่มีอย่างนี้.

กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ในโลก คือ ในอบาย
โลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า
กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย มีความว่า
ก็กามทั้งหลายในโลก เป็นของอันนรชนละได้โดยยาก สละได้โดยยาก
สลัดได้โดยยาก ย่ำยีได้โดยยาก แหวกออกได้โดยยาก ข้ามได้โดยยาก
พ้นได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามพ้นได้โดยยาก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบัง
ไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่น
นั้นย่อมอยู่ไกลจากกิเลส ก็เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่
เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.

[35] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ
เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง

ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มี
ในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้
หลุดพ้น.

[36] คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพเพราะเหตุ
แห่งความปรารถนา
มีความว่า ตัณหาเรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิด
เพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน ความกำหนัดกล้า
แห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดี
ทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้
สัตว์เกิด ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความที่จิตเป็นดังข่าย
ความที่จิตเป็นดังกระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ความที่จิตเป็น
ดังเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็นเพื่อน
ความตั้งไว้ เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งใจอยู่ในอารมณ์
ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความจำนง
ความประสงค์ ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น
ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวัง
ในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความ
ให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์
เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว
ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความ
กำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความ

ใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูป
ตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธัมม-
ตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง
ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต
ความเป็นดังเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่าง ๆ รากเง่าแห่งทุกข์ เหตุแห่ง
ทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แน่น้ำ ตัณหา
ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล คำว่า
เพราะเหตุแห่งความปรารถนา คือ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา
เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย เพราะความ
ปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด ฉะนั้นจึงชื่อว่า
เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.
คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นใน
ภพอย่างหนึ่ง ได้แก่สุขเวทนา. ความแช่มชื่นในภพ 2 อย่าง ได้แก่สุข
เวทนา 1 วัตถุที่ปรารถนา 1. ความแช่มชื่นในภพ 3 อย่าง ได้แก่ความ
เป็นหนุ่มสาว 1 ความไม่มีโรค 1 ชีวิต 1. ความแช่มชื่นในภพ 4 อย่าง
ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข. ความแช่มชื่นในภพ 5 อย่าง ได้แก่
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ. ความแช่มชื่นในภพ 6
อย่าง ได้แก่ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ ความถึง
พร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความ
ถึงพร้อมแห่งใจ.

คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ผู้ติดพันในสุข
เวทนา ติดพันในวัตถุที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันใน
ความไม่มีโรค ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรร
เสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูป ติดพันในเสียง ติดพันในกลิ่น ติดพัน
ในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพัน คือเกี่ยวพัน ผูกพัน
ข้อง เกี่ยว หมกมุ่นในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อมแห่ง
โสตะ ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความ
ถึงพร้อมแห่งกาย ในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติด
พันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.

[37] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่
ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น
มีความว่า ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่น
ในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือสัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้น
ได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น.
ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้น
ได้ยาก อย่างไร ? คือ สุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว
ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ
ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่ง
กาย ความถึงพร้อมแห่งใจ อันสัตว์พ้นได้ยาก คือหลุดพ้นได้ยาก เปลื้อง
ได้ยาก ปล่อยได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้น

ได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก ประพฤติล่วงได้ยาก ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความ
แช่มชื่นในภพ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก อย่างนี้.
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่ม
ชื่นในภพเหล่านั้น อย่างไร ? คือ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้พ้นได้ยาก หลุดพ้น
ได้ยาก ถอนขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้องได้ยาก พรากออกได้ยาก ฉุดออกได้
ยาก จากสุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค
ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่า
พอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ ความถึงพร้อม
แห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพรอมแห่งกาย ความถึง
พร้อมแห่งใจ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก จากธรรมที่เป็นวัตถุ
แห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์-
เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก
อย่างนี้.
คำว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า สัตว์เหล่านั้น
จมอยู่ด้วยตน ย่อมไม่อาจจะฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ให้ขึ้นได้ สมจริงดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนจุนทะ บุคคลนั้นหนอ จมอยู่ด้วยตนแล้ว
จักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนจุนทะ บุคคล
นั้นหนอ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่ดับกิเลสด้วยตนแล้ว จักยังผู้อื่นให้ฝึก
ฝน ให้อบรม ให้ดับกิเลสได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะได้ สัตว์เหล่านั้น
ไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นได้ อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่งไม่มีใคร ๆ อื่นที่จะ
ยังสัตว์เหล่านั้นให้พ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึงพ้นได้ไซร้ สัตว์เหล่านั้นก็
ปฏิบัติอยู่ซึ่งสัมมาปฏิบัติ อนุโลมปฏิบัติ อปัจจนิกปฏิบัติ อนวัตถปฏิบัติ

ธัมมานุธัมมปฏิบัติ โดยตนเอง ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความ
บากบั่น เรี่ยวแรงของบุรุษ กำลังของบุรุษ ความเพียรของบุรุษ ความ
บากบั่นของบุรุษ ของตนเอง จึงจะพึงพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ดูก่อนโธตกมาณพ เราไม่อาจยังใคร ๆ ที่มีความ
สงสัยในโลกให้หลุดพ้นได้ แต่ท่านรู้เฉพาะซึ่งธรรมอัน
ประเสริฐ พึงข้ามห้วงทุกข์นี้ได้ ด้วยประการอย่างนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วย
ประการอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจักเศร้า
หมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน
บุคคลนั้น จะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ และ ความ
ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์
ได้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วย
ประการอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้น นิพพานก็ตั้งอยู่
หนทางไปนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็น

ดังนั้น สาวกทั้งหลายของเรา ผู้อันเราสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกก็บรรลุถึงนิพพาน อันจบสิ้น
โดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูก่อนพราหมณ์
ในเรื่องนี้เราจะทำอย่างไรได้ ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคต
เป็นเพียงผู้บอกหนทาง พระพุทธเจ้าย่อมบอกหนทาง
สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอยู่ด้วยตนเอง จึงจะพึงหลุดพ้นได้
เพราะฉะนั้น จึงถือว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้
ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้น
เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น

[38] คำว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้างในข้างหน้าบ้าง มีความ
ว่า อนาคตเรียกว่าข้างหลัง อดีตเรียกว่าข้างหน้าอีกอย่างหนึ่ง อนาคต
ใกล้อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี เรียกว่า ข้างหลัง อดีตใกล้อนาคต
ก็ดี ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี เรียกว่าข้างหน้า.
บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหน้า อย่างไร ? คือ บุคคลย่อม
หวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูป
อย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้
บุคคลชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหน้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า
ในอดีตกาลเราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วย
ฉันทราคะบุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น
จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.

วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล
เราได้มีโสตะดังนี้ มีเสียงดังนี้....ในอดีตกาล เราได้มีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้...
ในอดีตกาลเราได้มีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้...ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้
มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะวิญญาณ
เป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อ
เพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า
แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจด้วยการ
หัวเราะ การเจรจา การเล่นกับมาตุคามในกาลก่อนบุคคลจึงชื่อว่า ย่อม
กระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า
แม้ด้วยประการอย่างนี้.
บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหลังอย่างไร ? คือ บุคคลตามระลึก
ถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้
เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ บุคคล
ชื่อว่าทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคต
กาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้น
จึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำ
ความมุ่งหวังในข้างหลัง
แม้ด้วยประการอย่างนี้.
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ไม่ได้ว่า ในอนาคตกาลเราพึงมิโสตะ
ดังนี้ มีเสียงดังนี้....ในอนาคตกาล เราพึงมีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้.....ใน
อนาคตกาลเราพึงมีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้....ในอนาคตกาลเราพึงมีกายดังนี้

มีโผฏฐัพพะดังนี้....ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะ
เหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้นเมื่อเพลิดเพลิน
อารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหลังแม้ด้วย
ประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า เราจัก
เป็นเทวราช หรือจักเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีลด้วยพรต ด้วยตบะ
หรือด้วยพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลิน
อารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่ง
หวังในข้างหลัง
แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุ่งหวัง
อยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง.

[39] คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน
มีความว่า คำว่าซึ่งกามเหล่านี้
คือ อยากได้ ยินดี ปรารถนา
ทะเยอทะยาน เพ้อฝันถึงกามคุณ 5 ที่เป็นปัจจุบัน คำว่า ปรารถนา
อยู่ซึ่งกามที่มีในก่อนมีความว่า ปรารถนาอยู่ บ่นเพ้ออยู่ รำพันอยู่ ถึง
กามคุณ 5 ที่เป็นอดีต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกาม
เหล่านี้หรือกามที่มีในก่อน
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ
เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง
ในข้างหน้าบ้างปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีใน
ก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุด
พ้น.

[40] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-
สัตว์เหล่านั้น ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่
ในกามทั้งหลายเป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึง
ทุกข์แล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่าเราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว
จักเป็นอะไรหนอ.


ว่าด้วยกาม 2 อย่าง



[41] คำว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกาม
ทั้งหลาย
มีความว่า กาม โดยหัวข้อได้แก่กาม 2 อย่าง คือ วัตถุ
กาม 1 กิเลสกาม 1
ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กาม
เหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้
แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ปรารถนาหลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว
พัวพัน ในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ปรารถนาในกามทั้งหลาย. คำว่า ขวนขวาย มีความว่า แม้สัตว์
เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อ
กาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้ม
ไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า
ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหาเสาะหา ค้นหา รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหาเป็นผู้เที่ยวไปเพื่อ
กาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้ม